วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

HR Innovation การบริหารคนก็ต้องมีนวัตกรรม

       เดี๋ยวนี้คำว่า “Innovation” หรือ นวัตกรรม ดูเหมือนว่าจะได้กลายเป็นคำฮิต ในเชิงการบริหารจัดการไปซะแล้ว จากที่องค์กรชั้นนำต่างๆ ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ ต่างก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในระดับนโยบาย กลยุทธ์ หรือวัฒนธรรมขององค์กรเลยทีเดียว นัยว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ จะต้องมีนวัตกรรม เดิมทีความสนใจเริ่มแรกเกี่ยวกับนวัตกรรม จะมุ่งเน้นไปที่ตัวสินค้าของเราเสียเป็นส่วนใหญ ่ในนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ ทุกคนต่างสรรหา คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่แตกต่าง เพื่อตอบสนองสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวมถึงตอบสนองความต้องการของลูกค้า ที่มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในความหมายกว้าง นวัตกรรมในเชิงธุรกิจมีได้ในในทุกๆ ภาคส่วนของกระบวนการบริหารจัดการนวัตกรรมทางการตลาด นวัตกรรมด้านกระบวนการทำงาน  การ สร้างแนวทางการบริการลูกค้าแนวใหม่ที่ตอบสนองลูกค้าได้อย่างเกินความคาดหวัง หรือการปรับกระบวนการผลิตใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และด้านการบริหารคนก็เช่นเดียวกัน แน่นอนว่าจะต้องมีนวัตกรรมในด้านการบริหารและจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HR Innovation) อีกด้วย

       แล้วทำไมการบริหารจัดการคนจะต้องมีนวัตกรรม ? ความ จำเป็นที่จะต้องมีสิ่งใหม่ๆ ก็มักจะมีสาเหตุมาจากสิ่งเดียวกันคือ สิ่งเดิมๆ นั้นเริ่มจะใช้ไม่ได้ดีเสียแล้วเมื่อเวลาเปลี่ยนไป สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเรานึกย้อนไปดูในอดีตเทียบกับปัจจุบัน จะสังเกตได้ว่าสภาพแวดล้อมในเรื่องคนในองค์กรเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก อาทิเช่น คนทำงานรุ่นใหม่เปลี่ยนงานบ่อยขึ้น การดึงคนเก่งเก็บไว้กลายเป็นเรื่องยาก  ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงต้องคิดค้นหาวิธีการดึงคนให้อยู่กับองค์กร ซึ่งไม่ได้จำกัดเพียงเรื่องผลตอบแทนในรูปของตัวเงินแบบเดิมเท่านั้น แต่อาจจะเน้นที่ มีโปรแกรมใหม่ๆ ที่สร้างความพอใจแก่พนักงาน และความผูกพันต่อองค์กรให้เกิดขึ้นเป็นต้น หรือปัจจุบันนี้องค์กรมีความแตกต่างหลากหลายของพนักงานมากขึ้น ทั้งทางด้านการศึกษาตั้งแต่ต่ำกว่าปริญญาตรี จนถึงระดับปริญญาเอก เชื้อชาติหลากหลายในบรรษัทข้ามชาติ อายุการทำงานที่เกษียณได้ยาวนานขึ้น องค์กรจึงดูซับซ้อนมากขึ้น ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จึงต้องคิดค้นกิจกรรมหรือแนวทางต่างๆ นานา เพื่อให้พนักงานเกิดความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน รวมถึงการปรับทัศนคติที่มองความแตกต่างสู่วัฒนธรรมร่วมที่เป็นแก่นสร้างคุณ ค่าแก่องค์กร เปลี่ยนความแตกต่างของคนมาใช้เป็นข้อดีขององค์กรให้ได้จากความสามารถที่หลาก หลาย เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องของการที่ต้องมี นวัตกรรมการบริหารและพัฒนาคน เมื่อสภาพแวดล้อมและบุคลากรเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ฝ่ายบริหารเองก็ต้องก้าวทันยุคไปด้วย นวัตกรรมจึงเป็นคำตอบที่ดี สำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อย่างไรก็ตามความทันสมัยไม่จำเป็นต้องคิดถึงแต่เทคโนโลยีเสมอไป เพราะบางคนอาจจะมุ่งแต่คิดถึงการที่จะต้องมีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จ รูปเข้ามาช่วยในการจัดการเพื่อความสะดวกและรวดเร็วเป็นการประหยัดเวลาการทำ งาน เช่น โปรแกรมการจัดการระบบเงินเดือนและสวัสดิการ หรือการพัฒนา Competency ที่ ทันสมัย เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยากให้หยุดคิดนิดหนึ่งว่า ไม่ใช่ว่าคนอื่นมีอะไร ก็แห่ใช้ตามกันไป โดยไม่ได้ดูว่าเหมาะหรือคุ้มกับองค์กรของเราหรือไม่ หากแต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า ก็คือการที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้สร้างสรรค์คิดค้นโครงการหรือกิจกรรม ใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางที่ฉีกจากกรอบเดิมๆ เพื่อกระตุ้นให้คนสร้างผลงานออกมา หรือพัฒนาคนขององค์กรให้มีความสามารถยิ่งขึ้น

       ตัวอย่างดีๆ ก็มีอยู่มากมาย อย่างเมื่อหลายปีก่อน องค์กรแห่งหนึ่งที่ประสบปัญหายอดขายที่เป็นรองคู่แข่งเบอร์หนึ่งอยู่ตลอด เวลา ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ก็ได้คิดทำโครงการเพื่อสร้างความรู้สึกร่วมเหมือนว่าเป็น เจ้าขององค์กรด้วยกัน เห็นเป้าหมายเดียวกัน โดยไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานบัญชี เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ หรือผู้บริหารระดับสูง ก็สามารถเข้าร่วมโครงการสมัครใจเป็นนักขายจำเป็นของบริษัท เดินเร่ขายสินค้าในงานอีเวนท์ของบริษัทเป็นหมู่คณะ ปรากฏว่าก็ได้รับความร่วมมือจากส่วนงานต่างๆ เป็นอย่างดี และสามารถกระตุ้นขวัญกำลังใจที่จะช่วยกันขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าด้วยกัน ได้ หรืออีกตัวอย่าง ฝ่าย HR แห่งหนึ่งก็ถามตนเองว่า ทำไมพนักงานต้องรับสวัสดิการบางอย่างที่บางคน อยากได้ บางคนไม่อยากได้ จึง ได้คิดนอกกรอบ จัดระบบสวัสดิการที่ยืดหยุ่นอย่างมาก อย่างน่าเหลือเชื่อ ที่พนักงานสามารถเลือกสวัสดิการที่เหมาะกับตัวเขาเองได้ อีกตัวอย่าง HR อยาก สร้างกิจกรรมที่สร้างเสริมการเรียนรู้ใหม่ๆ ก็ได้จัดสัมมนาแบ่งปันความรู้ ที่ให้เจ้าหน้าที่ระดับบริหารกลับไปอ่านหนังสือด้านการจัดการที่เขาชื่นชอบ แล้วกลับมาเล่าสรุปย่อพร้อมกับแนวทางการนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กร

      หากพิจารณากันแล้วนวัตกรรมด้าน HR ดังกล่าวนั้นไม่จำเป็นที่คุณจะต้องสร้างขึ้นมาใหม่ หรือถูกคิดค้นเป็นครั้งแรกเสมอ ยังมีอีกหลายวิธีการเพื่อให้ได้ นวัตกรรมด้าน HR” มาใช้ในองค์กร เช่น การปรับประยุกต์จากกรณีศึกษาที่ดีๆ จากองค์กรอื่น (Best Practice) คิด ปรับให้เหมาะสมกับเรา หรือคิดต่อยอดจากของเดิม เพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของคนขององค์กรเราที่เปลี่ยนแปลงไปก็ได ้ สำคัญที่ขอให้โครงการนั้นใหม่ ไม่เคยเกิดขึ้นกับองค์กรเราก็พอแล้ว

      แต่สิ่งสำคัญที่สุดหลังจากการคิดค้นหาโครงการหรือกิจกรรมด้าน HR ใหม่ๆ ก็คือ การต้องกล้าเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์จะต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงแนวทางเดิมเพื่อนำ นวัตกรรม HR” เข้า มาใช้ในองค์กรและจะต้องมีการติดตามผลและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าเราหยุดคิดค้นสิ่งใหม่ในวันนี้ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ตกยุคไปสำหรับ อนาคต ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาและคิดค้นสิ่งใหม่อยู่เสมอเพื่อให้ทันกับความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และประเด็นคือ ถ้านวัตกรรม HRนั้นดี ขนาดไหนแต่ไม่เคยถูกนำมาปฏิบัติจริง กลัวจะถูกปฏิเสธจากคนในองค์กรของเราทั้งที่ยังไม่ได้ลอง ก็ย่อมไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและองค์กรก็ไม่มีการพัฒนาเกิดขึ้น


รัฐ ดำรงศรี
กรรมการบริหาร บจก.ศูนย์พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น